หุ่นมือสำหรับอุตสาหกรรมถุงมือยาง

Last updated: 27 ส.ค. 2563  |  15475 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หุ่นมือสำหรับอุตสาหกรรมถุงมือยาง

     ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกยางและผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติหรือยางพาราเป็น อันดับ 1 ของโลก เฉพาะถุงมือที่ทําจากน้ํายางธรรมชาตินั้น มีมูลค่าการส่งออกในปี พ.ศ. 2559 ถึง 33,441 ล้านบาท (ข้อมูลจากศูนย์สถิติการพาณิชย์ กรมเศรษฐกิจ การพาณิชย์) เนื่องจากมีขยายการและส่งเสริมการปลูกยางพาราไปยังภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากยางมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
 
     มีหลายท่านสงสัยหรืออาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าถุงมือแพทย์ ถุงมือแม่บ้าน ลูกโป่งสวรรค์ ที่ใช้ในงานสังสรรค์นั้นทําขึ้นโดยใช้หุ่นที่ทําจากอะไร ? 
 
     ความจริงถุงมือต่างๆ เหล่านี้รวมทั้งถุงยางอนามัย หมวกว่ายน้ําสําหรับนักกีฬาล้วน แล้วแต่ผลิตขึ้นจากหุ่นที่ทําด้วยเซรามิกและแก้วนั่นเอง ทําไมจึงต้องเป็นเซรามิกและแก้วด้วย เหตุผลก็คือ
  • 1. เซรามิก (พอร์ซเลน) และแก้ว สามารถทนต่อกรดและด่างในกระบวนการผลิตถุงมือยางได้เป็นอย่างดี 
  • 2. เซรามิก สามารถทนต่อสารเคมีที่ใช้ตลอดจนทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน (Thermal Shock) ได้ดี (ในกรณีการเตรียมเนื้อดินให้ทนต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลัน) 
  • 3. เซรามิก มีอายุการใช้งานในกระบวนการผลิตถุงมือยางยาวนานพอที่จะทําให้เกิดความคุ้มต่อต้นทุนในการผลิต 
  • 4. เซรามิก สามารถให้รายละเอียดของพื้นผิวและลวดลายที่ต้องการได้ดี 
  • 5. เซรามิก ที่ใช้ผลิตถุงมือยางใช้ได้ทั้งเคลือบและไม่เคลือบตลอดจนการทําพื้นผิว หยาบ ละเอียด ได้ตามต้องการ 
  • 6. เซรามิกเก็บรายละเอียดได้ดีกว่าแก้วแต่แก้วนั้นผิวเรียบมากเหมาะสมกว่าเซรามิกในการผลิตถุงยางอนามัย 
  • 7. เซรามิก มีต้นทุนถูกกว่าโลหะและโลหะไม่ทนต่อสารเคมีในกระบวนการผลิตถุงมือยาง 

     จากเหตุและผลดังกล่าวมาแล้ว จึงเป็นความเหมาะสม สําหรับการนําหุ่นมือชนิดที่เป็นพอร์ซเลน (Porcelain Former) หรือที่โรงงานอุตสาหกรรมถุงมือยางเรียกกันทั่วไปว่า โมลด์ (Mold) มาใช้งานเพื่อการผลิตถุงมือยางเป็นหลัก 

     ในการผลิตหุ่นมือเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมถุงมือยางนั้น สามารถทําได้หลายแบบ โดยสามารถแบ่งตามการใช้งาน ได้ดังนี้ 

     1.หุ่นมือเพื่ออุตสาหกรรมถุงมือแพทย์ (Medical glove Formers) มี 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ ใช้ทําถุงมือตรวจโรค (Examination Glove) ถุงมือผ่าตัด (Surgical Glove) และ ถุงมือเพื่อการปศุสัตว์หรือผสมเทียม ซึ่งมีข้อจํากัดเฉพาะของแต่ละประเภทต่างกันไปตามมาตรฐาน F.D.A. (องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา) 

     2.หุ่นมือเพื่ออุตสาหกรรมถุงมือแม่บ้าน (Household Glove Formers) เป็นหุ่นมือที่ผลิตถุงมือที่ใช้ทั่วไป เช่น ใช้ภายในบ้าน สวมใส่เพื่อหยิบจับ ล้างจาน ปัดกวาด เช็ดถู ทําความสะอาด และใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยให้พนักงานสวมใส่เพื่อความสะอาดถูกสุขลักษณะ เช่น โรงงานผลไม้กระป๋อง โรงงานอาหารสดแช่แข็ง หรือโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารอีกหลายๆ ประเภท ก็ใช้ถุงมือประเภทนี้ 

     3.หุ่นมือเพื่อผลิตถุงมืออุตสาหกรรมต่าง ๆ (Industrial Glove Formers) เช่น ทําถุงมือที่ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น

     ในการผลิตหุ่นมือนั้น นอกจากจะต้องมีความละเอียด พิถีพิถันเลือกสรรวัตถุดิบแล้ว ยังต้องมีการวิจัยและพัฒนาทั้งทางด้านวัตถุดิบและ เทคนิคในการผลิตให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความต้องการในตลาดโลก เช่น เมื่อก่อนมีการผลิตถุงมือที่ใช้ยางธรรมชาติ ซึ่ง สารโปรตีนเจือปนอยู่ได้พอสมควร ในระยะหลังผู้บริโภคแพ้สารโปรตีนในถุงมือยางพารากันมาก จึงมีข้อกําหนดเพิ่มเติมทําให้ผู้ผลิตถุงมือต้องปรับปรุงการผลิตให้สอด คล้องกับตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการผลิต จึงมีผลกระทบกับการผลิตหุ่นมือ เลยเป็นลูกโซ่ที่จะต้องกระทําการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการผลิตหุ่นมือตามไปด้วย 

     แต่ละขั้นตอนการผลิตจะต้องมีการตรวจสอบควบคุมอยู่เสมอ ให้มีมาตรฐานตามที่ต้องการ ตั้ง แต่น้ําหนักของหุ่นมือ ขนาดที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในแต่ละชนิดแต่ละเบอร์ของลูกค้าแต่ละโรงงาน ถ้าไม่เป็นไปตามข้อกําหนดจะถูกส่งกลับคืนหรือไม่รับสินค้าไว้เพื่อใช้งานก็มี จึงเป็นเรื่องสําคัญที่ผู้ผลิตจะต้องทําให้ได้มาตรฐานที่กําหนด โดยเฉพาะถุงมือตรวจโรค ถุงมือผ่าตัด จะมีรูรั่วไม่ได้เลย หุ่นมือซึ่งเป็นแม่แบบก็ต้องไม่มีรูเข็ม (Pin hold) หรือ Defect ต่างๆ เกิดขึ้นแม้แต่จุดเดียว (ดูแล้วข้อกําหนดเหล่านี้ก็น่ากลัวไม่น้อยเลย) แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจในการลงทุนและผลิต เนื่องจากความต้องการมีมากพอสมควร การรักษาคุณภาพในการผลิตจะเป็นสิ่งค้ําประกันได้ว่าอนาคตของผู้ผลิตหุ่นมือจะไปรอดหรือไม่ 

     สําหรับการนําหุ่นมือไปใช้งานในอุตสาหกรรมถุงมือยางนั้น จะต้องนําหุ่นมือเหล่านี้ไปเข้าสู่สายพานการผลิตของเครื่องผลิตถุงมือยางซึ่งในแต่ละเครื่องจะมีขนาดแตกต่างกัน ฉะนั้นจํานวนหุ่นมือที่ใช้ในแต่ละเครื่องก็จะตกราวๆ 1,500-2,500 ตัว โดยประมาณ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความถี่ห่างของการตั้งระยะการทํางานในแต่ละสายพานการผลิตด้วย 

     ในการออกแบบหุ่นมือนั้นจะว่าไปแล้ว ผู้ผลิตหุ่นมือแทบจะไม่ต้องมีการออกแบบสักเท่าไรนัก เนื่องจากมีมาตรฐานความต้องการของผู้ผลิตถุงมือยางเป็นตัวกําหนดลิขสิทธิ์ต่างๆ เป็นของผู้ผลิต ถุงมือยางและผู้ผลิตหุ่นมือที่จะกําหนดรูปร่างหน้าตาของหุ่นมือให้มีรูปร่างหน้าตาอย่างไรก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของมาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์ถุงมือยางเป็นหลัก ส่วนในด้านเทคโนโลยี การผลิตหุ่นมือนั้นเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงมากนัก เป็น Conventional Ceramics ที่อาศัยการปรับปรุงเทคนิคให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภค คือ โรงงานอุตสาหกรรมถุงมือยางนั่นเอง 

     มีอยู่อย่างหนึ่งที่สําคัญและยากหน่อย คือ การออกแบบลวดลายให้เป็นไปตามความต้องการและมีความถูกต้องในรายละเอียด จึงจําเป็นต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ช่วยสร้างลวดลายโดยการเขียนในลักษณะการ เขียนแบบและประยุกต์ใช้ลวดลายบนหุ่นมือ ซึ่งมีกรรมวิธีทางเทคนิคที่สามารถกําหนดความตื้นลึกหนาบางของลวดลายได้

     การควบคุมคุณภาพเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการผลิตหุ่นมือ ถ้ามีความแตกต่างกันมากในด้านคุณภาพของชิ้นงาน เช่น ความกว้าง ยาว สูง ของหุ่นไม่อยู่ในมาตรฐานที่กําหนด ตัวอย่างเช่น อาจกําหนดโดยให้หุ่นมือมีค่าบวกลบได้ไม่เกิน 3 มิลลิเมตรต่อความยาวของ เส้นรอบวงของฝ่ามือ 205 มิลลิเมตร ผู้ผลิตหุ่นมือก็จําเป็นที่จะต้องควบคุมขนาดต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นไปตามข้อกําหนดนั้นๆ จึงจะผ่านเกณฑ์ตัดสินและค่าการยอมรับ 

     สําหรับบริษัทผู้ผลิตหุ่นมือในต่างประเทศนั้นก็มีอยู่หลายประเทศหลายบริษัทที่ทําการผลิตหุ่นมืออยู่ เช่น เยอรมัน อังกฤษ แคนาดา สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเลเซีย และออสเตรเลีย ซึ่งคุณภาพของหุ่นมือนั้นผู้ผลิตจากเยอรมัน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ถือว่ามีคุณภาพในระดับสูงแต่ราคาค่อนข้างสูงตามไปด้วย ส่วนปริมาณการผลิตของแต่ละบริษัทนั้น ผู้เขียนไม่มีข้อมูลในส่วนนี้จึงไม่ขอกล่าวถึง 

     การวิจัยและพัฒนาคุณภาพในการผลิต คุณภาพในการใช้งานหุ่นมือ เป็นสิ่งจําเป็นที่ ผู้ผลิตจะมองข้ามไปไม่ได้เลย เพราะจะมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากหุ่นมือต่างๆ เหล่านี้โดยตรง แพทย์ พยาบาล จะปลอดภัยในปฏิบัติหน้าที่ ประชาชนจะลดอัตราการ เสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บ ความสะอาด อนามัยของประชาชนเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทาง การแพทย์ ผลิตภัณฑ์อุปโภคที่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานสากล นับได้ว่าเซรามิกยังคงบทบาทต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไปอย่างสูง ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ประชาชนยังเป็นหนี้บุญคุณของแผ่นดิน (ดิน น้ํา ลม และไฟ) อยู่ไม่รู้จบสิ้น ตราบใดที่ยัง มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยวิทยาการแขนงนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง
 

อ้างอิงจากบทความของ ผศ.เวนิช สุวรรณโมลี